แบบรายงานผลการปฏิบัติงาน
ตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)
นางสาวศุภักศร ศรีสุระ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒
ประวัติส่วนตัวผู้รับประเมิน
ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง
ข้าพเจ้าจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน ไว้ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง
1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 15.83 ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
- รายวิชาการอาชีพ จำนวน 6.67 ชั่วโมง/สัปดาห์
- รายวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ จำนวน 1.67 ชั่วโมง/สัปดาห์
- รายวิชางานสร้างคน คนสร้างงาน จำนวน 5.83 ชั่วโมง/สัปดาห์
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
- กิจกรรมชุมนุม จำนวน 0.83 ชั่วโมง/สัปดาห์
- กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ จำนวน 0.83 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย ในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ประเด็นท้าทาย เรื่อง ประเด็นท้าทาย เรื่อง ประสบการณ์ในอาชีพ ด้วยการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒ ด้วยการใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Leaning)
สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้
ในการจัดการเรียนรู้รายวิชาการอาชีพ เรื่อง ประสบการณ์ในอาชีพ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 ที่ผ่านมา พบว่าผู้เรียนมีการส่งงานอยู่ในเกณฑ์ต่ำ นักเรียนบางคนไม่ได้ให้ความสำคัญในรายวิชา จึงเกิดปัญหาการไม่ส่งงานซึ่งมีความสำคัญในการนำไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพในอนาคต ทั้งนี้ครูผู้สอนจึงได้ค้นหาแนวทางแก้ไขการจัดการเรียนรู้รายวิชาการอาชีพ เพื่อแก้ปัญหาความไม่ใส่ใจ การไม่ให้ความสำคัญ ทำให้ไม่ส่งงาน จึงมีการจัดการเรียนการสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน(Project Based Leaning) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อย ส่งเสริมให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มโดยใช้โครงงานในการสร้างประสบการณ์ในการประกอบอาชีพ ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้
ลักษณะงาน
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้
1.1 สร้างและพัฒนาหลักสูตร
ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้
1.2 การออกแบบการจัดการเรียนรู้
การออกแบบการจัดการเรียนรู้ข้าพเจ้าได้ศึกษาจุดประสงค์รายวิชา
มาตรฐานรายวิชา และสาระการเรียนรู้รายวิชา เพื่อเตรียมการสอนให้
ครอบคลุมเนื้อหา และเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยได้จัดทำ
แผนการเรียนแบบมุ่งเน้นสมรรถนะครบและครอบคลุมเนื้อหาทุกหน่วย
การเรียน และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้
1.4 สร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้
ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้
1.5 การวัดและประเมินผล
1) กระบวนการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
2) แบบสังเกตพฤติกรรม กระบวนการและทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณของผู้เรียน
3) แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้
1.6 ศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้
ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้
1.7 จัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน
1) เร้าความสนใจด้วย สื่อการสอน ที่นำนวัตกรรม เทคโนโลยี ที่ทันสมัย เข้ามาใช้ในการจัดการชั้นเรียน
2) ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสนำเสนอความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ โดยผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นแก่นความรู้ได้อย่างแท้จริง
ด้านที่ ๒ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
ลักษณะงาน
ด้านที่ ๓ ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
ลักษณะงาน
ด้านที่ ๓ ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
3.2 มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้
ด้านที่ ๓ ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
3.3 นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้
ส่วนที่ 2
ประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ประเด็นที่ท้าทาย ในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะชำนาญการคือ การแก้ไขปัญหา การจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่าได้)
ประเด็นท้าทาย เรื่อง ประสบการณ์ในอาชีพ ด้วยการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒ ด้วยการใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Leaning)
วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล
วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล
1. วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2561) และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒ ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2563 ในเรื่องของมาตรฐานการเรียน และตัวชี้วัดของเนื้อหารายวิชาการอาชีพ
2. ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และแผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ โดย การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน(Project Based Leaning)
3. เปิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โดยครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเข้าไปสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องในเนื้อหา การจัดกิจกรรม แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบฝึกหัด พร้อมทั้งเสนอแนะ และสะท้อนผลการจัดกิจกรรมเพื่อนำมาปรับปรุง แก้ไขให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ ให้เหมาะสมกับบริบทของห้องเรียน ผู้เรียน และโรงเรียน
4. ครูผู้สอนนำกิจกรรมมาปรับปรุง แก้ไขตามคำแนะนำของคณะครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒
5. ครูผู้สอนสร้างแบบบันทึกการฝึกทักษะ และแบบประเมินผลการฝึกการปฏิบัติ โดยตรวจสอบความเที่ยงตรงของแบบทดสอบด้วยค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ ด้วยผู้เชี่ยวชาญ และปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
6. นำแบบทดสอบทดลองและกิจกรรมที่ออกแบบใช้กับผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เคยเรียนเนื้อหา เรื่อง ประสบการณ์ในอาชีพ เพื่อปรับปรุงแบบทดสอบอีกครั้ง
7. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ประสบการณ์ในอาชีพ รายวิชาการอาชีพ กับผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ในรูปแบบ ONLINE หรือ ONSITE โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบทของห้องเรียน ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ผ่านการศึกษาสถานการณ์ เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์และส่งเสริมให้นักเรียนทำงานร่วมกันโดยในกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่มีความสามารถแตกต่างกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือพึ่งพาซึ่งกันและกัน และมีความรับผิดชอบร่วมกัน ทั้งในส่วนตนและส่วนรวมโดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (PROJECT-BASED LEARNING) กิจกรรมที่ให้นักเรียนรู้จักวิธีการทำโครงงานวิจัยเล็กๆ ผู้เรียนลง มือปฏิบัติเพื่อพัฒนาความรู้ทักษะ และสร้าง ผลผลิตที่มีคุณภาพ ระเบียบวิธีดำเนินการเป็นระบบ ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์จุดประสงค์หลักของการ สอนแบบโครงงานต้องการกระตุ้นให้นักเรียนรู้จัก สังเกต รู้จักตั้งคำถาม รู้จักตั้งสมมติฐาน รู้จักวิธี แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เพื่อตอบคำถามที่ตน อยากรู้ รู้จักสรุป และทำความเข้าใจกับสิ่งที่ค้นพบ โครงงานอาจจัดในเวลาเรียน หรือนอกเวลาเรียนก็ ได้โดยไม่จำกัดสถานที่อาจทำเป็นรายบุคคลหรือ เป็นกลุ่มได้หากเนื้อหาหรือข้อสงสัยเป็นไปตาม รายวิชาใดหรือสาระใด จะเรียกว่าโครงงานใน รายวิชานั้น ๆ เช่น โครงงานวิทยาศาสตร์โครงงาน คณิตศาสตร์โครงงานคุณธรรมจริยธรรม เป็นต้น
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
เชิงปริมาณ
ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 ห้อง รวมจำนวนผู้เรียนทั้งหมด 360 คน ดังนี้ ได้มีการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาการอาชีพ เรื่อง ประสบการณ์ในอาชีพ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วย โครงงานเป็นฐาน(Project Based Leaning) เพื่อแก้ไขปัญหาการไม่ส่งงาน การไม่เห็นความสำคัญของนักเรียน
1) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง อาหารและโภชนาการ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของผู้เรียนทั้งหมด
2) ผู้เรียนร้อยละ 80 มี คุณลักษณะอันพึงประสงค์สูงกว่าที่ โรงเรียนกำหนด
3) ผู้เรียนร้อยละ 80 สามารถอ่าน คิด วิเคราะห์ เขียนสื่อความ จากเรื่องที่เรียนรู้สูงกว่า
ที่โรงเรียนกำหนด
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
เชิงคุณภาพ
ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 ห้อง รวมจำนวนผู้เรียนทั้งหมด 360 คน ให้นักเรียนรู้จักวิธีการทำโครงงานวิจัยเล็กๆ ผู้เรียนลง มือปฏิบัติเพื่อพัฒนาความรู้ทักษะ และสร้าง ผลผลิตที่มีคุณภาพ ระเบียบวิธีดำเนินการเป็นระบบ ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์จุดประสงค์หลักของการ สอนแบบโครงงานต้องการกระตุ้นให้นักเรียนรู้จัก สังเกต รู้จักตั้งคำถาม รู้จักตั้งสมมติฐาน รู้จักวิธี แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เพื่อตอบคำถามที่ตน อยากรู้ รู้จักสรุป และทำความเข้าใจกับสิ่งที่ค้นพบ จากการพัฒนาตนเอง และการเข้าร่วมชุมชนการเรียนรูทางวิชาชีพ (PLC)